สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 21-27 มี.ค.59

21 - 27 มีนาคม 2559

 

ยางพารา

1. สรุปภาวการณ์ผลิต การตลาดและราคาภายในประเทศ

     ราคายางปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจาก ผลผลิตออกสู่ตลาดลดลงตามฤดูกาล โดยหลายพื้นที่เริ่มหยุดกรีดในช่วงฤดูยางผลัดใบ ประกอบกับประเทศผู้ผลิตสำคัญ เช่น มาเลเซียและอินโดนีเซีย เริ่มมีผลผลิตลดลง ผู้ประกอบการเร่งซื้อเพิ่มขึ้น และปัจจัยบวกจากเงินเยนและเงินบาทอ่อนค่า ขณะที่ปัจจัยลบมาจากราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มปรับตัวลดลง และนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ที่อาจเกิดขึ้นในเดือนเมษายนนี้

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ 
     1. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.96 บาท เพิ่มขึ้นจาก 40.11 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.85 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.12
     2. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 2 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.46 บาท เพิ่มขึ้นจาก 39.61 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.85 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.15
     3. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.96 บาท เพิ่มขึ้นจาก 39.11 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.85 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.17
     4. ยางก้อนคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 19.26 บาท เพิ่มขึ้นจาก 18.34 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 092 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.02
     5. เศษยางคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 16.79 บาท เพิ่มขึ้นจาก 16.35 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.44 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.69
     6. น้ำยางสดคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 38.83 บาท เพิ่มขึ้นจาก 37.03 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 1.80 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.86
     ในสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 4, ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 5 และยางแผ่นดิบคละ

ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. ซื้อขายล่วงหน้าส่งมอบเดือนเมษายน 2559

ณ ท่าเรือกรุงเทพ 
     1. ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 53.95 บาท เพิ่มขึ้นจาก 51.60 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 2.35 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.55
     2. ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 52.80 บาท เพิ่มขึ้นจาก 50.45 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 2.35 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.66 
     3. ยางแท่ง (STR20) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 46.46 บาท เพิ่มขึ้นจาก 44.45 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 2.01 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.52
     4. น้ำยางข้น ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.65 บาท เพิ่มขึ้นจาก 33.20 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 2.45 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.38

ท่าเรือสงขลา 
     1. ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 53.70 บาท เพิ่มขึ้นจาก 51.60 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 2.35 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.58
     2. ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 52.55 บาท เพิ่มขึ้นจาก 50.20 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 2.35 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.68 
     3. ยางแท่ง (STR20) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 46.46 บาท เพิ่มขึ้นจาก 44.45 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 2.01 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.55
     4. น้ำยางข้น ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.40 บาท เพิ่มขึ้นจาก 32.95 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 2.45 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.44

2. สรุปภาวการณ์ผลิตการตลาดและราคาในตลาดต่างประเทศ

     ราคายางพาราซื้อขายล่วงหน้าตลาดสิงคโปร์และโตเกียวปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจาก ปริมาณผลผลิตที่ออกสู่ตลาดลดลงตามฤดูกาล ประกอบกับเงินเยนแข็งค่า รวมถึงข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่อ่อนแอ และราคาน้ำมันมีแนวโน้มปรับตัวลดลง อย่างไรก็ตาม ราคายางอาจทรงตัว เนื่องจากนักลงทุนยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะอุปทานน้ำมันล้นตลาด หลังจากสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานรัฐบาลสหรัฐฯ (EIA) เปิดเผยปริมาณสต๊อคน้ำมันของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 6
ยางแผ่นรมควันชั้น 3 
 
     ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดสิงคโปร์ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 150.90 เซนต์สหรัฐฯ (52.46 บาท) เพิ่มขึ้นจาก 142.54 เซนต์สหรัฐฯ (49.45 บาท) ของสัปดาห์ที่ผ่านมากิโลกรัมละ 8.36 เซนต์สหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.87
ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดโตเกียว เฉลี่ยกิโลกรัมละ 168.83 เยน (52.05 บาท) เพิ่มขึ้นจาก 163.54 เยน (50.16 บาท) ของสัปดาห์ที่ผ่านมากิโลกรัมละ 5.29 เยน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.23

21 - 27 มี.ค. 2559

สุกร

สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ  
     ภาวะตลาดสุกรในสัปดาห์นี้ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากสภาพอากาศที่เริ่มร้อนขึ้นทำให้สุกรเจริญเติบโตช้า ขณะที่ความต้องการบริโภคอยู่ในระดับปกติ แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
     สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 64.64 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 64.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.22 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 64.93 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 60.85 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 66.65 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 59.50 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 2,100 บาท (บวกลบ 67 บาท) ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ  
     ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
 
ไก่เนื้อ
 
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
     สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากสภาพอากาศที่แปรปรวนและร้อนจัดในบางพื้นที่ ทำให้ไก่เนื้อเจริญเติบโตช้า ส่งผลให้ราคาปรับตัวสูงขึ้น แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
     ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 38.44 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 38.13 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.81 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 40.64 ภาคกลางกิโลกรัมละ 37.73 บาท ภาคใต้กิโลกรัมละ 41.01 บาท และภาคเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 11.50 บาท สูงขึ้นจากตัวละ 10.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 9.52
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
     ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.50 บาท และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 53.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่ไก่

สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

     สัปดาห์นี้ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณผลผลิตไข่ไก่ออกสอดรับและใกล้เคียงกับความต้องการบริโภค แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
     ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 295 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 303 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 282 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 298 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 299 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 25.00 ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
าคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
     ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 321 ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

 
ไข่เป็ด

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ 
     ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 352 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 341 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 3.23 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 350 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 355 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 341 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 394 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ 
     ราคาขายส่งไข่เป็ดในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 380 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

 
โคเนื้อ 
 
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
     ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 104.09 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 104.04 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.05 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัม 110.10 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 104.99 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 99.56 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 100.00 บาท

กระบือ

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
     ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 82.98 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 82.94 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.05 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 91.66 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 81.31 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา

ข่าวสัปดาห์ 21 - 27 มี.ค. 59
 
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

 

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ  

  

ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้

     ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.52 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.06 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
     ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ8.17 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 8.19 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.24 ส่วนราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.93 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.85 ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.02 
     ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
     ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนพฤษภาคม 2559 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 368.96 เซนต์ (5,106 บาท/ตัน) เพิ่มขึ้นจากบุชเชลละ 367.72 เซนต์ (5,099 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.34 และเพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 7.00 บาท

 


ตารางราคาเกษตรกรขายได้ ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ และราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี